Thursday, January 24, 2013

เคล็ดลับการหยุดดื่ม การป้องกันการเสพติดสุราซ้ำ

การป้องกันการเสพติดสุราซ้ำ
http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3.jpg
      ปัญหาใหญ่ของการเลิกสุราไม่สำเร็จ คือการกลับไปดื่มสุราซ้ำในช่วง 6-12 เดือนแรกค่อนข้างสูง เนื่องจากสมองยังไวกับสุราอยู่มาก ผู้ป่วยยังมีอารมณ์เครียดได้ง่ายๆ สิ่งแวดล้อมก็ยังมีตัวกระตุ้น และสิ่งเร้าอยู่มาก ทำให้กลับไปดื่มสุราซ้ำ และล้มเหลวซ้ำซาก จนท้อใจ และเลิกความพยายามในการเลิกสุราไปในที่สุด  ทำให้ความเชื่อมั่นในตนเอง และความเคารพในตนเองมีแนวโน้มที่จะแย่ลงเรื่อยๆ  ดังนั้น หากผู้ป่วยและญาติเรียนรู้เรื่องปัจจัยที่ทำให้เสพติดสุราซ้ำ ก็จะทำให้มีโอกาสในการป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำได้ดียิ่งขึ้น   ผู้ป่วยก็จะประสบความสำเร็จในการเลิกสุราได้มากยิ่งขึ้น

      จากการศึกษาทางการแพทย์  พบว่า ปัจจัยที่มักทำให้เสพติดสุราซ้ำ มีดังต่อไปนี้
  1. ยังคงมีการดื่มสุราอยู่บ้าง  เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่ได้มีเป้าหมายหยุดดื่มทั้งหมดตั้งแต่ต้น  ผู้ที่เสพติดสุรามักมีสมองที่ไวกับสุรา  ปริมาณแอลกอฮอล์เพียงเล็กๆน้อยๆ   ก็สามารถกระตุ้นให้คิดถึง และอยากสุราได้มาก ทำให้ดื่มแบบติดลม และกลับไปติดซ้ำในที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยควรตั้งเป้าหมายหยุดดื่มทั้งหมด จะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่า
  2. ปัญหาทางอารมณ์ที่ไม่ดี จะกระตุ้นให้อยากสุรา และกลับไปดื่มในที่สุด  ดังนั้น ผู้ป่วยควรดูแล และหาทางผ่อนคลายอารมณ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและไม่สิ้นเปลือง เช่น กิจกรรมดนตรี, กีฬา, ศิลปะ, การออกกำลังกาย และงานอดิเรกต่างๆที่ให้ความสุขใจ
  3. ปัญหาทางความสัมพันธ์  ความสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจเป็นเหตุหรือผลมาจากการดื่มสุราก็ได้  เช่น ปัญหาชีวิตคู่ ครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร หนี้สิน การงาน เป็นต้น หากสามารถหาทางคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการกลับไปติดซ้ำลดลง
  4. แรงกดดันทางสังคม  เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับสุราโดยตรงในขณะที่ต้องเลิกสุรา ทำให้ยากต่อการเลิกสุรา เช่น อาชีพที่ต้องอยู่ใกล้ชิดสุรา การเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดื่มสุรา เป็นต้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการเลิกสุรา
  5. ตัวกระตุ้นและสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้คิดถึงสุรา  สุราทำให้สมองจดจำสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆของการดื่มสุรา ดังนั้น ในช่วงของการเลิกสุรา  เมื่อเผชิญกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็ทำให้ระลึกถึงสุราโดยอัตโนมัติ  เช่น ขวดเหล้า ร้านค้าสุรา วงเหล้า งานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ ภาพยนตร์ที่มีฉากการดื่มสุรา  การพูดคุยถึงเรื่องสุรา  สถานที่และวันเวลาที่ดื่มเป็นประจำ เป็นต้น   ดังนั้น  ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมเหล่านี้  แทนที่จะเผชิญเพื่อเป็นการวัดใจ
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

0 comments:

Post a Comment