Thursday, January 24, 2013

การถอนพิษสุรา

การถอนพิษสุรา

 http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg

      ในระหว่างที่ผู้ดื่มทำการบำบัด ผู้ดื่มอาจมีอาการถอนพิษสุรา สาเหตุเป็นเพราะว่าดื่มสุราต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานหลายปี  ทำให้สมองของผู้ดื่มเกิดการเสพติด  สมองจะดื้อต่อสุรา ต้องดื่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ความสุขเท่าเดิม  หากหยุดดื่ม ก็จะเกิดอาการถอน ตามมา

      อาการถอนมีลักษณะดังต่อไปนี้

      6-8 ชั่วโมงแรกภายหลังการหยุดดื่ม ผู้ป่วยมักมีอาการระบบประสาทอัตโนมัติตื่นตัว เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เหงื่อแตก, ชีพจรเต้นเร็ว, ความดันโลหิตสูงขึ้น, ประสาทตื่นตัว เป็นต้น
      24-36 ชั่วโมงแรกภายหลังการหยุดดื่ม ผู้ป่วยมักมีอาการถอนสูงที่สุด หลังจากนั้นอาการก็ค่อยๆหายไปภายใน 3-4 วัน

      กรณีที่มีอาการถอนรุนแรง ซึ่งสมควรได้รับการบำบัดรักษาภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมักมีอาการดังต่อไปนี้

      8-12 ชั่วโมงแรกภายหลังการหยุดดื่ม ผู้ป่วยอาจมีอาการประสาทหลอน, ภาพหลอน, หูแว่ว, ประสาทหลอนทางสัมผัสผิวหนัง, คิดหลงผิดไป, สมควรได้รับยาเพื่อรักษาอาการ
      12-24 ชั่วโมงแรกภายหลังการหยุดดื่ม  ผู้ป่วยอาจมีอาการลมชัก  หากผู้ป่วยมีอาการลมชัก ก็เสี่ยงที่จะมีอาการสมองสับสนตามมา สมควรได้รับยาเพื่อป้องกันอาการชักครั้งที่สอง และอาการสมองสับสน
      72-96 ชั่วโมงแรกภายหลังการหยุดดื่ม ผู้ป่วยอาจมีอาการสมองสับสน กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง หูแว่วประสาทหลอน สมควรได้รับการบำบัดรักษาภายในโรงพยาบาล และดูแลอย่างใกล้ชิด
      ดังนั้น การบำบัดรักษาเพื่อถอนพิษสุรา เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการถอนสุรา และป้องกันอาการถอนที่รุนแรง เช่น อาการทางจิต, อาการชัก, และอาการสมองสับสน ดังที่กล่าวข้างต้น  แพทย์ก็จะให้ยาชดเชยเพื่อการถอนพิษสุรา   ให้อยู่ในที่สงบและสามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามอาการถอนว่ารุนแรง เพิ่มขึ้นหรือไม่  และให้สารน้ำ, อาหาร และวิตามินที่จำเป็น เช่น วิตามินบี1 เป็นต้น เพื่อป้องกันอาการสมองสับสน และความจำเสื่อมที่เกิดจากการขาดวิตามินบี1 ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้ จนพ้นระยะที่ถอนรุนแรงไปจนปลอดภัย มีระยะเวลาการรักษา ประมาณ 7-14 วัน

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

ยาเบื่อเหล้า

ยาเบื่อเหล้า

http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg
      ยาเบื่อเหล้า มีชื่อสามัญว่า ไดซันฟิแลม  ขนาดยาเม็ดละ 500 กรัม รับประทานวันละ ½ - 1 เม็ดต่อวัน ขนาดโดยทั่วไปประมาณ ½ เม็ด หรือ 250 กรัม  ชื่อการค้าที่มีในประเทศ ได้แก่  chronol, difiram, alcobuse

      กลไกการออกฤทธิ์  ยาจะไปยับยั้งน้ำย่อย(เอนไซม์) ของตับ หากผู้ป่วยรับประทานยาไดซันฟิแลม และไปดื่มสุรา จะเกิดภาวะเป็นพิษ ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมหมดสติได้ กรณีที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้นได้

      ดังนั้นการรับประทานยาตัวนี้ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการหยุดดื่มสุราโดยเด็ดขาด เป็นการรับประทานยาเพื่อเตือนใจผู้ติดสุราว่าไม่สามารถกลับไปดื่มสุราได้  หากกลับไปดื่ม ก็จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว

      วิธีการรับประทาน  ผู้ป่วยต้องหยุดดื่มสุราแล้วเป็นอย่างน้อย  24-48ชม. เพื่อให้แอลกอฮอล์หมดไปจากร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มทุกประเภทที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ระยะเวลาที่รับประทาน ประมาณ 6-12 เดือนในช่วงที่กำลังเลิกสุราอย่างจริงจัง

ข้อควรระวัง  ไม่ควรแอบให้ยาแก่ผู้ป่วยทานโดยไม่รู้ตัว  ผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตจากปฏิกิริยาของยากับแอลกอฮอล์ที่ รุนแรง  ซึ่งเคยมีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วย  ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการใช้ยาตัวนี้  และควรตรวจเลือดเพื่อติดตามการทำงานของตับและเม็ดเลือดทุก 6 เดือน

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

ทางเลือกเลิกเหล้า กลุ่มเพื่อช่วยเพื่อน

กลุ่มเพื่อช่วยเพื่อน
 http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99.jpg

      กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเอง โดยมีกระบวนให้เกิดการสร้างความหวัง และพลังใจให้กันและกัน  ซึ่งถือว่ากลุ่มเพื่อช่วยเพื่อนมีส่วนสำคัญมากในการป้องกันการกลับไปดื่ม สุราซ้ำ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เช่น สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก เพราะช่วยทำให้ผู้มีปัญหาการบริโภคสุรา หยุดดื่มได้นานขึ้น มีชีวิตดีขึ้น ประเทศไทยกำลังมีความพยายามที่จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ให้มีจำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหาที่มีอยู่ ทั้งแบบจัดตั้งกันเอง และการผลักดันจากนโยบายของภาครัฐ ดังนั้นขอนำเสนอให้รู้จัก 2 รูปแบบคือ
1.ชมรมจิตอาสา โรงพยาบาลจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
      โดยกระบวนการกลุ่ม “ชมรมจิตอาสา”โรงพยาบาลจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเองแบบไม่เป็นทางการ เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพและการปรับตัวต่อปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้สมาชิกรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยมีกระบวนการกลุ่ม 3 ระยะคือ ระยะสร้างสัมพันธภาพ ระยะดำเนินการ และระยะสิ้นสุดการทำกลุ่ม

      เริ่มต้นจากสมาชิกเข้าไปสร้างความคุ้นเคยกับผู้ที่ดื่มสุราทั้งในคลินิกเลิก สุราและตึกผู้ป่วยใน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของการดื่มและการเลิกดื่มสุรา ชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิกชมรมจิตอาสา ถ้าผู้ที่ดื่มสุราไม่สนใจหรือยังไม่พร้อมที่จะเลิกดื่มหรือเข้าร่วมเป็น สมาชิกของชมรมฯ ก็ยอมรับและเข้าใจ ทั้งยังให้กำลังใจอยู่ตลอด สำหรับผู้ที่พร้อมจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกฯ ก็ชื่นชมพร้อมกับนัดหมายการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

      บรรยากาศของกระบวนการกลุ่มเน้นการส่งเสริมให้สมาชิกได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระ มีความไว้วางใจและเชื่อมั่นกันและกัน รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา และยอมรับซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือให้กำลังใจกัน แม้ว่าจะมีใครกลับไปดื่มสุราซ้ำก็ไม่มีใครว่าอะไร ไม่ตำหนิหรือซ้ำเติมให้เสียใจ คราวหน้าค่อยเริ่มต้นใหม่ ประโยชน์จากกลุ่มนำไปปรับใช้และขยายเครือข่ายต่อไป ส่งผลดีให้สมาชิกสามารถเลิกสุราได้สำเร็จ จากนั้นได้สร้างตัวแบบที่ดีในการเปลี่ยนแปลงตนเองขยายออกไปเรื่อยๆ โดยให้รางวัลด้านจิตใจ ชื่นชม ยกย่องจากสมาชิกชมรมจิตอาสา ครอบครัวยอมรับและเกิดสัมพันธภาพในครอบครัวดีขึ้น ชุมชนให้โอกาส รวมถึงการใช้พลังในตนเองของสมาชิกเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติเพื่อเลิก ดื่มสุรา รวมถึงการมอบเกียรติบัตรในการเลิกดื่มสุราได้สำเร็จมานานกว่า 1 ปี ด้วย

      ข้อดีของกระบวนการกลุ่มทำให้สมาชิกมีความรู้สึกเป็นสากล คือ สมาชิกแต่ละคนตระหนักว่าทุกคนก็มีปัญหาเหมือนๆ กัน ไม่ใช่เราคนเดียวที่มีปัญหา และเกิดความรู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกนี้ ทำให้เกิดความสบายใจขึ้น การเข้ากลุ่มเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิกในการดูแลตนเอง ให้กำลังใจระหว่างกันในการเผชิญปัญหาความเครียด และเสริมทักษะการป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำ  และมีการเลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่นที่ตนเองพอใจ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้สามารถเลิกสุราได้สำเร็จได้ในที่สุด
2.กลุ่มผู้ติดสุรานิรนามตามหลัก 12 ขั้นตอน
      กลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรังนิรนาม หรือกลุ่มเอเอ เป็นกลุ่มชายและหญิงที่มาแบ่งปันประสบการณ์  ความหวัง  ช่วยกันแก้ปัญหา และช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุรา

      สมาคมนี้มีสมาชิก 2 ล้านกว่าคน มีกลุ่มประมาณหนึ่งแสนกว่ากลุ่ม อยู่ตามประเทศต่างๆ มากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก 

      สมาชิก คือ ผู้ที่อยากหยุดดื่มสุรา  การเป็นสมาชิกไม่มีค่าใช้จ่าย กลุ่มเอเออยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากสมาชิก กลุ่มเอเอไม่เกี่ยวข้องกับองค์กร ความเชื่อ ศาสนา หรือการเมือง และไม่ประสงค์ที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวใดๆ

      หลักการสำคัญของกลุ่มเอเอ คือ การหยุดดื่ม และช่วยผู้ติดสุราหยุดดื่มสุรา

      หลัก 12 ขั้นตอน เป็นหลักการฟื้นฟูทางด้านจิตวิญญาณสำหรับผู้ติดสุรา เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินกลุ่มเอเอ เพื่อเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสมาชิกกลุ่ม ทำให้กลุ่มคงความเป็นอิสระ ไม่พึ่งพาองค์กรภายนอก ป้องกันความขัดแย้งทางศาสนาและอิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซงแสวงหาผล ประโยชน์ และยังทำให้กลุ่มสามารถรักษาความลับและความเป็นนิรนามของสมาชิกไว้ได้

      สาระสำคัญในหลัก 12 ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้ ในขั้นต้นเป็นการยอมรับตนเองว่ามีปัญหาติดสุราและไม่สามารถแก้ปัญหาของตนเอง ได้ ผู้ติดสุราต้องหันกลับมาเคารพศรัทธา พลังอำนาจที่อยู่เหนือตนในการกลับฟื้นตัวจากโรคติดสุรา พลังอำนาจที่อยู่เหนือตนในหลักการคือ สิ่งที่เป็นพลังใจในศรัทธาความเชื่อของผู้นั้นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความ เชื่อของแต่ละศาสนา การหมั่นทบทวนถึงการกระทำที่ผ่านมาของตนเอง การยอมรับสิ่งผิดพลาดในอดีต การยอมรับผิดกับบุคคลอันเป็นที่เคารพรัก และการขอขมาโดยตรงต่อบุคคลที่ตนเองเคยล่วงเกินไว้

      ความสม่ำเสมอในการทบทวนตนเอง ยอมรับผิดอย่างจริงใจเมื่อพบว่าผิด การสวดอ้อนวอนภาวนาและการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงสิ่งที่เป็นพลังใจ เมื่อค้นพบความสงบสุขก็ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ยังมีปัญหาติดสุราหรือสารเสพ ติดอื่นๆ ต่อไป

      ปัจจุบันกลุ่มเอเอไทยที่มีการดำเนินกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ  มีอยู่ประมาณ 12 กลุ่ม คือ กลุ่มเอเอในศูนย์บำบัดยาเสพติดขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเครือข่ายโรงพยาบาลในภาคอีสาน กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลอำเภออกุดชุม จ.ยโสธร กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ และเครือข่ายโรงพยาบาลในภาคเหนือ   กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร   และกลุ่มเอเอที่ศูนย์การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยานานาชาติ (Psychological service international หรือ PSI) ซ.สุขุมวิท43 กรุงเทพมหานคร  

      ท่านสามารถทดลองเข้าร่วมกลุ่มเอเอ  โดยติดต่อไปยังสถานบำบัดที่มีรายนามข้างต้นได้  หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเอเอไทยได้จาก  Website ที่เป็นทางการ คือ www.aathailand.org  และสายด่วนหมายเลข 02-231-8300
      ขอบคุณเนื้อหาจากแผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.) และพิชัย แสงชาญชัย คู่มือสายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์1413 ; 2553
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

เลิกเหล้ากับวัด

เลิกเหล้ากับวัด

 http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94.jpg
      ในประเทศไทยมีการบำบัดผู้ติดสุราโดยพระสงฆ์หลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ผู้ติดสุราดื่ม หรืออบยาสมุนไพร ร่วมกับการปฏิบัติธรรม การดื่มน้ำมนต์ การรักษาสัจจะ มีการเทศนา สั่งสอน อบรมร่วมกับการปฏิบัติธรรม เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้ติดสุราให้เลิกดื่มสุรา

      กรณีศึกษาของสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้บำบัดผู้ติดสุราด้วยสมุนไพร “ยาสามราก” ได้แก่ ปลาไหลเผือก โลดทะนงแดง และพญาไฟ โดยเริ่มต้นจากสมาชิกชมรมจิตอาสาได้ไปทำกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีศาสนา บำบัด ได้แก่ การสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟังบรรยายธรรม และการจัดกิจกรรมกลุ่มทางศาสนา เสริมด้วยกระบวนการกลุ่มบำบัด มีการประชุมกลุ่มโดยพระพี่เลี้ยง และพยาบาลจากโรงพยาบาลจอมทอง การให้บริการปรึกษา การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลิกสุรา และการดูแลสุขภาพทั่วไป กระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือตนเองเกี่ยวกับทักษะการปฏิเสธ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น

      นอกจากนั้นมีการประเมินความพร้อมก่อนบวชเพื่อเลิกสุรา มีระบบบันทึกข้อมูลการดูแลโดยเป็นการประสานความร่วมมือ ส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลสวนปรุง และโรงพยาบาลจอมทอง รวมถึงมีระบบการติดตามหลายรูปแบบ ได้แก่ การไปเยี่ยมสมาชิกที่สำนักสงฆ์ถ้ำตอง การสร้างกลุ่มช่วยเหลือกันเองโดยชมรมจิตอาสา การนัดผู้ป่วยมารับการติดตามที่โรงพยาบาลจอมทอง เป็นต้น

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

9 อุปนิสัยที่ทำให้เลิกเหล้าได้สำเร็จ

9 อุปนิสัยที่ทำให้เลิกเหล้าได้สำเร็จ
 http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1/9%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88.jpg

      อุปนิสัย คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆจนเคยชิน  อุปนิสัยที่ดีมีส่วนเสริมให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จ มีความสุข และมั่นคงทางจิตใจ  อุปนิสัยเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้  บ่มเพาะให้มากขึ้นได้  โดยการประพฤติปฏิบัติบ่อยๆจนเกิดความเคยชิน   อุปนิสัยที่พึงประสงค์และเอื้อต่อการประสบความสำเร็จในการเลิกสุรา  มีดังนี้
  1. อุปนิสัยยอมรับความจริง
    การยอมรับความจริงว่าเรามี ปัญหาชีวิต  จิตใจก็จะสงบลง  เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้พิจารณาปัญหาอย่างที่มันเป็นจริง  ก็ทำให้เรามีโอกาสเห็นทางออกของการแก้ปัญหาได้มากขึ้น
  2. อุปนิสัยสตินิยม
    ชีวิตที่ผ่านมา  เรามักปล่อยให้อารมณ์และความอยากครอบงำ ทำอะไรไปตามอารมณ์และความอยาก เราจะสุขได้ก็ต้องทุกข์ก่อน จึงเรียกได้ว่า มีชีวิตที่ติดลบ แต่หากชีวิตเรามีสตินำ อยู่กับปัจจุบัน  รู้เท่าทันอารมณ์และความอยาก  จิตเป็นอิสระและสงบ มีความสุขที่เกิดขึ้น ก็เรียกได้ว่า  มีชีวิตที่เป็นบวก  ความคิดและการกระทำก็เป็นเหตุผล
  3. อุปนิสัยซื่อสัตย์เปิดเผยความจริง
    การกระทำความผิด ทำให้คนเราปิดบังซ่อนเร้น  พูดไม่จริงเพื่อเอาตัวรอด  ส่วนลึกในจิตใจก็ไม่เคารพนับถือตนเองที่ได้ทำผิดไป และไม่ซื่อสัตย์  การที่คนเรามีความซื่อสัตย์  เปิดเผยความจริง  กล้ายอมรับผิด  โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิดที่จริงใจ และพร้อมที่จะช่วยเหลือเรา  ก็จะเอื้อต่อการแก้ปัญหาต่อไป
  4. อุปนิสัยกล้าคิดและกล้าทำ
    ช่วยทำให้เราประสบความ สำเร็จ  มีความรับผิดชอบในตนเอง  เกิดความภาคภูมิใจ  และมีความเชื่อมั่นว่าเราทำได้  เราอาจเริ่มต้นจากการใช้ปัญญาพิจารณาถึงเป้าหมายในชีวิตที่ดีงามก่อน  มองหาหนทางปฏิบัติ  และลงมือทำ  เรียนรู้จากข้อผิดพลาด  พร้อมกับให้กำลังใจตนเองเมื่อทำได้
  5. อุปนิสัยเป็นคนมีอารมณ์ขัน
    การมีอารมณ์ขันช่วยให้ เรามีมุมมองที่แตกต่างออกไป  โดยเฉพาะพฤติกรรมบางอย่างของตนเอง  ทำให้เรายอมรับตนเองได้มากขึ้น  ว่าเราเองก็ไม่ได้เก่ง ไม่ได้ดีไปทุกๆเรื่อง  บางอย่างก็ดูตลกขบขัน  อารมณ์ขันยังช่วยให้เราผ่อนคลายในสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้  ช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
  6. อุปนิสัยแห่งการให้อภัย
    การสะสมความโกรธเครียดแค้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจเลย  การละวางจากอารมณ์โกรธ  แล้วให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำไม่ดีกับคุณ  แถมยังแผ่เมตตาให้อีก  จิตใจของคุณก็จะกลับเป็นสุขอย่างมหัศจรรย์ ที่สุดของการให้อภัย  ก็คือ  การให้อภัยตนเอง   เป็นการยอมรับตนเองได้ว่าเราก็ไม่ได้ดีสมบูรณ์ไปทุกๆอย่าง  สามารถกระทำผิดได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆ
  7. อุปนิสัยชอบเข้าหากัลยาณมิตร
    ในการแก้ปัญหา  บางครั้งเราไม่สามารถแก้มันได้เพียงลำพัง  เราอาจต้องอาศัยปัญญาของผู้อื่นช่วยชี้นำทาง  ที่สำคัญเราควรพิจารณาดูว่าผู้ใดสามารถเป็นกัลยาณมิตรในเรื่องต่างๆของเรา ได้
  8. อุปนิสัยเป็นคนที่รับผิดชอบ
    การโทษสิ่งอื่นว่าเป็น สาเหตุของปัญหา เป็นอุปสรรคต่อการเลิกสุรา  การที่เรารับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตัวเราเอง  โดยยอมรับว่าเราเป็นผู้กระทำมันเอง  หากกระทำผิดก็ยอมรับว่าผิด   และขอโทษผู้อื่นอย่างจริงใจ  จิตใจเราก็จะสบายขึ้น  เกิดความเคารพนับถือตนเอง  มีความระมัดระวังในการกระทำของตนเองมากขึ้น  อีกทั้งคนอื่นก็เกิดความเชื่อมั่นในตัวเราว่าเรามีความจริงใจในการแก้ปัญหา  โอกาสประสบความสำเร็จก็มีมากกว่า
  9. อุปนิสัยห่วงใยใส่ใจในสุขภาพของตนเอง
    ร่างกายเป็น ที่ตั้งของจิตใจ  หากร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์  ก็ส่งผลให้จิตใจสมบูรณ์  การทำนุบำรุงสุขภาพตนเองสามารถกระทำได้โดยการหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยว กับการดูแลสุขภาพ  การออกกำลังกาย  การเล่นกีฬา  การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์  การหลีกเลี่ยงสุรายาเสพติด
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

วิถีชีวิตที่เป็นอยู่ดีในการเลิกเหล้า

วิถีชีวิตที่เป็นอยู่ดีในการเลิกเหล้า
http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2.jpg
      ช่วงที่ผ่านมาของการดื่มสุรา  สุรามักทำให้ชีวิตของผู้ป่วยตกต่ำ  และเคยชินกับการใช้สุราเป็นทางออก  เปรียบเสมือนสุราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  ดังนั้น การเลิกสุรา ไม่ใช่เพียงแค่หยุดดื่มสุราเท่านั้น  ผู้ป่วยควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ดีต่อสุขภาพ และการสร้างความสุขอย่างง่ายๆ  วิถีชีวิตที่เป็นอยู่ดี มีดังต่อไปนี้
      การผ่อนคลายความเครียดอย่างเป็นธรรมชาติ   เมื่อผู้ป่วยใช้สุราเป็นทางออก และสุราเองก็ทำให้สมองพร่องสารแห่งความสุข ทำให้ความสุขเกิดขึ้นได้ยาก  ดังนั้น  ผู้ป่วยควรหาหนทางผ่อนคลายตามธรรมชาติมาทดแทน เพื่อให้เกิดความสุขได้ง่ายๆ และไม่สิ้นเปลือง เช่น กิจกรรมดนตรี, กีฬา, ศิลปะ, การออกกำลังกาย, การปฏิบัติธรรม และงานอดิเรกต่างๆ  เป็นต้น
      การหมั่นมีสติรู้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน   ทำให้จิตเป็นอิสระจากอารมณ์  ทำให้จิตไม่เครียด ไม่เหนื่อย จิตเบิกบานมีความสุขได้ง่าย รู้อยู่กับเป้าหมายเลิกสุราในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง หรืออดีตที่ล้มเหลวซ้ำซาก  ควรมุ่งเป้าหมายเพียงแค่วันนี้เราเลิกได้  การฝึกสติสามารถทำได้หลากหลายวิธีการ ผู้ป่วยอาจเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น การนอนให้เต็มอิ่ม  เพราะสุราทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ    หลับๆตื่นๆ  ฝันมาก นอนไม่หลับ  เวลานอนไม่เพียงพอ   นอนไม่เป็นเวลา ดังนั้น ผู้ป่วยควรปรับการนอนให้กลับเป็นปกติ โดยนอนให้เป็นเวลา ทำใจให้สงบก่อนเข้านอน ไหว้พระ สวดมนต์ ทำสมาธิก่อนเข้านอน หลีกเลี่ยงชาและกาแฟ  จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอน ไม่มีเสียงดัง อากาศถ่ายเทสะดวก เป็นต้น
      การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม  ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่  และปริมาณที่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารมัน เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและตับอาจจะยังทำงานไม่ดี  ควรดื่มน้ำหวานชดเชยเพื่อให้พลังงานกับร่างกาย  เคี้ยวอาหารให้ละเอียด รับประทานอาหารช้าๆอย่างมีสติ
      สำหรับในเรื่องการจัดการหนี้สินและปัญหาทางกฎหมาย  ผู้ป่วยควรทำใจยอมรับความผิดพลาดในอดีต ให้มองมันเป็นบทเรียน และมุ่งมั่นทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น  ผู้ป่วยควรทบทวนรายรับรายจ่ายให้มีความสมดุล  จัดระเบียบการใช้จ่าย จัดการเรื่องหนี้สิน  ปรึกษาผู้รู้ทางกฎหมายเพื่อจัดการเรื่องคดีความ  ระมัดระวังการกระทำความผิดเพิ่มขึ้น หากเราฟันผ่ามันไปได้ เราจะเคารพนับถือตนเอง อนาคตก็จะมั่นคงขึ้น
      การบริหารจัดการเวลาในแต่ละวัน   ขณะที่ผู้ป่วยเลิกสุรา เวลาระหว่างวันจะเหลือเพิ่มขึ้น ควรวางแผนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และให้ความสุขใจ นอกเหนือจากงานการที่จะต้องทำ เพื่อไม่ให้ตนเองว่างและเบื่อเซ็ง ความอยากดื่มสุราก็จะลดลง
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

เคล็ดลับการหยุดดื่ม การป้องกันการเสพติดสุราซ้ำ

การป้องกันการเสพติดสุราซ้ำ
http://www.1413.in.th/uploads/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3.jpg
      ปัญหาใหญ่ของการเลิกสุราไม่สำเร็จ คือการกลับไปดื่มสุราซ้ำในช่วง 6-12 เดือนแรกค่อนข้างสูง เนื่องจากสมองยังไวกับสุราอยู่มาก ผู้ป่วยยังมีอารมณ์เครียดได้ง่ายๆ สิ่งแวดล้อมก็ยังมีตัวกระตุ้น และสิ่งเร้าอยู่มาก ทำให้กลับไปดื่มสุราซ้ำ และล้มเหลวซ้ำซาก จนท้อใจ และเลิกความพยายามในการเลิกสุราไปในที่สุด  ทำให้ความเชื่อมั่นในตนเอง และความเคารพในตนเองมีแนวโน้มที่จะแย่ลงเรื่อยๆ  ดังนั้น หากผู้ป่วยและญาติเรียนรู้เรื่องปัจจัยที่ทำให้เสพติดสุราซ้ำ ก็จะทำให้มีโอกาสในการป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำได้ดียิ่งขึ้น   ผู้ป่วยก็จะประสบความสำเร็จในการเลิกสุราได้มากยิ่งขึ้น

      จากการศึกษาทางการแพทย์  พบว่า ปัจจัยที่มักทำให้เสพติดสุราซ้ำ มีดังต่อไปนี้
  1. ยังคงมีการดื่มสุราอยู่บ้าง  เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่ได้มีเป้าหมายหยุดดื่มทั้งหมดตั้งแต่ต้น  ผู้ที่เสพติดสุรามักมีสมองที่ไวกับสุรา  ปริมาณแอลกอฮอล์เพียงเล็กๆน้อยๆ   ก็สามารถกระตุ้นให้คิดถึง และอยากสุราได้มาก ทำให้ดื่มแบบติดลม และกลับไปติดซ้ำในที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยควรตั้งเป้าหมายหยุดดื่มทั้งหมด จะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่า
  2. ปัญหาทางอารมณ์ที่ไม่ดี จะกระตุ้นให้อยากสุรา และกลับไปดื่มในที่สุด  ดังนั้น ผู้ป่วยควรดูแล และหาทางผ่อนคลายอารมณ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและไม่สิ้นเปลือง เช่น กิจกรรมดนตรี, กีฬา, ศิลปะ, การออกกำลังกาย และงานอดิเรกต่างๆที่ให้ความสุขใจ
  3. ปัญหาทางความสัมพันธ์  ความสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจเป็นเหตุหรือผลมาจากการดื่มสุราก็ได้  เช่น ปัญหาชีวิตคู่ ครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร หนี้สิน การงาน เป็นต้น หากสามารถหาทางคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการกลับไปติดซ้ำลดลง
  4. แรงกดดันทางสังคม  เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับสุราโดยตรงในขณะที่ต้องเลิกสุรา ทำให้ยากต่อการเลิกสุรา เช่น อาชีพที่ต้องอยู่ใกล้ชิดสุรา การเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดื่มสุรา เป็นต้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการเลิกสุรา
  5. ตัวกระตุ้นและสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้คิดถึงสุรา  สุราทำให้สมองจดจำสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆของการดื่มสุรา ดังนั้น ในช่วงของการเลิกสุรา  เมื่อเผชิญกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็ทำให้ระลึกถึงสุราโดยอัตโนมัติ  เช่น ขวดเหล้า ร้านค้าสุรา วงเหล้า งานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ ภาพยนตร์ที่มีฉากการดื่มสุรา  การพูดคุยถึงเรื่องสุรา  สถานที่และวันเวลาที่ดื่มเป็นประจำ เป็นต้น   ดังนั้น  ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมเหล่านี้  แทนที่จะเผชิญเพื่อเป็นการวัดใจ
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413  ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์